“ถนนเยาวราช” กำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และยังคงเป็นชุมชนคนจีน ย่านธุรกิจการค้า การเงิน การธนาคาร ร้านทอง ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ เหมือนดั่งในอดีตยามค่ำคืนเยาวราชจะแปรสภาพจากถนนเศรษฐกิจเป็นถนนอาหารที่มีความยาวที่สุดแห่งหนึ่ง สองฟากถนนเต็มไปด้วยอาหารหลากหลายชนิดวางขายเรียงรายเป็นแนวยาวมีทั้ง หูฉลาม ซุปรังนก ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ บะหมี่ ก๋วยจั๊บ แพะตุ๋น ยาจีน เกาเหลาเครื่องในหมู ข้าวขาหมู อาหารทะเล เกาลัดคั่ว ของหวานและผลไม้หลากชนิด เลือกนั่งได้ทั้งแบบภัตตาคาร ร้านริมถนนหรือจะซื้อจากรถเข็นและแผงลอยนานาชนิดก็ได้ ท่ามกลางบรรยากาศแสงสีไฟจากป้ายชื่อร้านที่ต่างก็มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบกัน
ถนนเยาวราช หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว กรุงเทพฯ ได้เริ่มทำการค้ากับประเทศทางตะวันตกมากขึ้นมีการส่งสินค้าออก เช่น ข้าว เครื่องเทศ น้ำตาลและมีการนำเข้าเหล็ก ผ้าแพรจากจีน เครื่องหอม ฯลฯ แหล่งการค้าของกรุงเทพฯ นั้นอยู่ในย่านคนจีน โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ริมคลองโอ่งอ่างจนถึงคลองผดุงกรุงเกษมจากกิจการค้าที่รุ่งเรืองและรายได้เพิ่มขึ้น จึงทำให้มีการตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสายพร้อมกับความเจริญที่ตามมา
"ถนนเยาวราช" ใช้เวลาสร้างกว่าจะเสร็จสมบูรณ์นานถึง 8 ปี คือเริ่มสร้างเมื่อปีพ.ศ.2435 และเสร็จสมบูรณ์ในปี 2443 ทั้งที่เป็นถนนที่มีความยาวเพียง 1,410 เมตร เส้นทางสายนี้ เริ่มตั้งแต่คลองรอบกรุง ตรงข้ามป้อมมหาไชย ตัดลงไปทางทิศใต้ บรรจบถนนจักรวรรดิ เรียกว่า"สี่แยกวัดตึก" ผ่านถนนราชวงศ์ เรียก "สี่แยกราชวงศ์" ก่อนไปบรรจบถนนเจริญกรุงก่อนถึงวัดไตรมิตรฯ
ถนนเยาวราช สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามโครงการถนน อำเภอสำเพ็ง ซึ่งเป็นนโยบายสร้างถนนในท้องที่ที่เจริญแล้ว เพื่อส่งเสริมการค้าขาย "เยาวราช" เป็น 1 ใน 18 ถนนที่สมเด็จกรมเจ้าพระยานริศรานุวัตตวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ กราบบังคมทูลว่าจะสร้างถนนใน พ.ศ.2434 โดยให้ชื่อว่าถนนยุพราช และต่อมาทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อใหม่เป็น"ถนนเยาวราช"
เอกสารของกรมโยธาธิการระบุว่า การสร้างถนนเยาวราชประสบอุปสรรคหลายประการ เนื่องจากมีผู้คนอยู่อาศัยหนาแน่น นับแต่เริ่มกรุยทางใน พ.ศ.2435 จนถึง พ.ศ.2438 เพราะกระทรวงโยธา ธิการต้องการที่ดินเพื่อสร้างถนนให้แล้วเสร็จ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริว่า ไม่ต้องพระประสงค์ตัดถูกที่ดินของชาวบ้าน โดยมุ่งให้ใช้แนวเดิมที่เป็นทางเกวียนหรือแนวทางเดิน ขณะที่ทางกระทรวงนครบาลก็พยายามที่จะให้ราษฎรได้รับเงินค่าที่ดินจากรัฐบาลให้เรียบร้อยกระทั่งในปีพ.ศ.2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการ ถ้าเจ้าของที่ดินผู้ที่ไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ก็ให้กระทรวงนครบาลเป็นผู้ฟ้องกรมอัยการ ทำให้การตัดถนน " เยาวราชดำเนินการต่อไปได้"
ในเดือนกรกฎาคม 2443 กระทรวงโยธาธิการ ได้ขยายถนนเยาวราชออกเป็น 12 วา ในที่ที่ยังว่างอยู่ และเนื่องจากถนนสายนี้มีการก่อสร้างอาคารขึ้นตามริมทางแล้ว ทางการจึงต้องรีบขุดรางน้ำและถมปลายถนน ปลูกต้นไม้ห่างจากริมถนน 10 ศอก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจเพิ่มเติมว่า เนื่องจากถนนตอนบนขยายไม่ได้ ขยายได้แต่ตอนล่างซึ่งเป็นที่ว่าง การแก้ท่อน้ำจึงต้องค่อยๆแปรให้กว้างออกไป การตัดถนนเยาวราชจึงสำเร็จเรียบร้อยอย่างสมบูรณ์ การตัดถนนที่คงไว้ตามพระราชองค์การดำรัสเหนือเกล้าฯ ทำให้ถนนเยาวราชเป็นไปแบบคดไปเคี้ยวมาจนมีคนบอกว่าเป็นเหมือนมังกร
ถนนเยาวพานิชในอดีต ด้านซ้ายมือของรูปภาพ ในอดีตเคยเป็นโรงหนังเทียนกัวเทียน ปัจจุบันคือ ธนาคารยูโอบี และ ห้างทองฮั่งเซ่งเฮง สาขาเยาวพานิช
ถนนเยาวราชในอดีตเคยมีห้างเซ็นทรัลและโรงหนังคาเธ่ย์
ถนนเยาวราช ณ ปี 2012 มีร้านทองและร้านอาหารอย่างมากมายทั้ง 2 ฝั่งของถนนเยาวราช
ความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ณ.ถนนเยาวราช ตัดกับซอยมังกรในอดีตเป็นโรงหนังคาเธ่ย์ แต่ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น ธนาคาร ไอซีบีซี แล้ว
(รูปซ้าย) ห้างใต้ฟ้าในอดีต ปัจจุบันคือโรงแรมแกรนด์ ไชน่า ปริ้นเซส (รูปขวา) อยู่บริเวณสี่แยกราชวงศ์
เยาวราช บริเวณโรงหลังเฉลิมบุรี(Yaowarat, Chinatown)
กรุงเทพมหานคร | Bangkok
ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1978 (พ.ศ.๒๕๒๑)
CR.77PPP
Photographer: Gustav Neuenschwander
Image Source: ETH-Bibliothek, Switzerland
ในอดีต โรงภาพยนต์โอเดียน ตรงบริเวณวงเวียนโอเดียนจะมีน้ำพุอยู่กลางวงเวียน กลางคืนจะมีสปอร์ตไล้ท์ส่องไปที่น้ำพุ มองเห็นสายน้ำพุ่งสูงขึ้นไปอย่างสวยงาม
Image Source_: TCDCconnect
Image Source(2011): inlovepai
Image Source: Changton Natee, Thailand
ปัจจุบัน บริเวณน้ำพุวงเวียนโอเดียน ที่ตั้งอยู่หน้าโรงภาพยนตร์โอเดียน ได้ถูกปรับปรุงเป็นที่ตั้งของ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา หรือซุ้มประตูวัฒนธรรมไทย–จีน ดูรีวิวเพิ่มเติม คลิกเลย
รถราง (Tram) ไปรษณีย์กลาง เจริญกรุง ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1960 (พ.ศ.๒๕๐๓)
Image Source: UC San Diego Libraries, United States
ว่ากันว่า ป้ายธง แดง-เขียว ที่มีดาวตรงกลาง นั้นคือ จุด สับราง เวลารถวิ่งสวนกัน ต้องรอกัน ในสมัยนั้นใครจะไปซื้อของที่พาหุรัต ก็ต้องนั่งรถรางนี่แหล่ะค่ะ
โรงหนังไซฮ้อในอดีต ปัจจุบันเป็นโรงภาพยนตร์ไชน่าทาวน์รามา
โรงภาพยนตร์เฉลิมบุรีในอดีต ปัจจุบันเป็นที่จอดรถโรงหนังเฉลิมบุรีเก่า (ถนนทรงสวัสดิ์)
ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1986 (พ.ศ.๒๕๒๙) ว่ากันว่า คาเธ่ย์ food and supermarket เคยเป็นโรงหนังศรีราชวงศ์
Image Source: albrecht-faust, Germany
ภาพยนตร์เรื่อง 'มนุษย์กายสิทธิ์' ( SUPERMAN ) โรงภาพยนตร์ศรีราชวงศ์/ศรีราชวงษ์(ไซบู้ไท้) ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1950 (พ.ศ.๒๔๙๓)
หมายเหตุ : ภาพถ่ายขาวดำ เทคนิคแต่งสี
Photographer: Dmitri Kessel
Image Source: LIFE magazine
อดีตโรงภาพยนต์ ศรีราชวงศ์มีอยู่ 2 โรงคือ ศรีเยาวราช - ศรีราชวงศ์อยู่ห่างกัน 30 เมตร ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอาคารกาญจนทัต
แยกแปลงนาม (Plaeng Nam Intersection) ถนนเจริญกรุง ตัดถนนพลับพลาไชย ตัดถนนแปลงนาม
Intersection of Charoen Krung Road, Plubplachai Road and Plaeng Nam Road
เยาวราช (Yaowarat, Chinatown)
กรุงเทพมหานคร (พระนคร) | Bangkok ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1950 (พ.ศ.๒๔๙๓)
Photographer: Dmitri Kessel Image Source: LIFE magazine, United States
ถนนเยาวราชแถวย่านวัดตึก ถ่ายเมื่อปี 2522
Cr : รูปภาพจาก Internet
Cr : https://www.facebook.com/77PPP
Cr : http://www.clipmass.com/
ถนนเยาวราชมีเสน่ห์ มีกลิ่นอาย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ของคนรุ่นเก่า ได้เรียนรู้ ดีใจที่ยังคงอนุรักษ์เอาไว้ เดินกี่ครั่งก็ชอบ ถึงจะหาร้านยาน้ำเต้าทองไม่เจอ ก็มีความสุข วันหนึ่งต้องหาจนเจอ
ใช่ร้านสุกี้ไท้ฮิน หรือ เรียกว่า ตึกเก้าชั้น ใช่ไหมครับ
หรือ จะเป็นภัตตราคารห้อยเทียนเหลา ใช่แถวๆ ธนาคารกสิกร สาขา ถ.เสือป่า ในปัจจุบันไหมครับ
อยากถามครับว่า ปัจจุบันร้านไหนที่เยาวราชมีขาย ซี่อิ้วตราแมงปอ และ ตือเถ่าจั่ง
.....น่าจะลงภาพ ห้างแมวดำ ในอดีต ด้วยนะครับ
คิดถึงอาหารที่ถนนเยาราชมากที่สุด ตอนอยู่ที่เมืองไทยทำงานที่ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่ ตรงข้ามเป็นภัตตราคารจีนมีซาละเปาขนมจีบอร่อยมาก ทานทุกวันเป็นอาหารว่าง กลางวันพวกเราชอบทานสุกี้ยากี้แถวราชวงศ์ สมัยนั้นมีอาแป่ะหาบหูฉลามมาขายอยู่ข้างธนาคาร หูฉลามชิ้นใหญ่ๆเต็มชาม ขายชามละ 30.00 บาท (ตอนนั้นปี1965) ตอนนี้อยู่อเมริกาคิดถึงเยาราชมากที่สุด