🎀 สิ่งของแต่งงานพิธีจีน🎎 เรื่องน่ารู้ในพิธีแต่งงานจีน ตามธรรมเนียมของจีน วันแต่งงานจะมี 3 วัน
✨1.วันสู่ขอ ผู้ใหญ่จะเข้ามาคุย (ไม่ต้องเตรียมของใช้ แค่ผู้ใหญ่คุยกันเฉยๆ ค่ะ)
✨2.วันหมั้น คือวันที่สวมแหวน วันขันหมาก
✨3.วันรับตัวเจ้าสาวเข้าบ้านเจ้าบ่าว หรือเพื่อไปเรือนหอ
2. วันหมั้น วันขันหมาก
สิ่งที่ฝ่ายหญิงต้องเตรียม :
- ชุดเอี๊ยมครบชุด ที่ใช้เป็นสีแดงและปักอักษรจีน แป๊นี้ไห่เล่า ซึ่งหมายความว่า อยู่กินกันจนแก่เฒ่า
- ต้นชุงเช่า 1 คู่ หมายถึง “ต้นเมียหลวง” เป็นไม้มงคล จะทำให้คู่สมรสรักกันและอยู่ด้วยกันยั่งยืนยาวนานจนแก่เฒ่า เป็นผัวเดียวเมียเดียว มีลูกมีหลานเต็มบ้านและมีความสุขในการใช้ชีวิตคู่
- ส้มเช้งติดซังฮี้ 2 ถาด (ถาดละ 24 ผล) หมายถึง ผลไม้มงคลที่เชื่อว่าจะให้โชคดี
- กล้วยเครือ (ห่อด้วยกระดาษแดงที่ส่วนเครือ ผูกด้วยอั่งจ้อ (เชือกแดง)) พร้อมติดซังฮี้ หมายถึง สิ่งดีสู่บ่าวสาวและอวยพรให้มีลูกหลานสืบสกุลมากๆ
- ขนมจันอับ ห่อแดง ห่อละ 4-10 กิโลกรัม (4โลเล็กสุด) อย่างน้อย 4 ห่อ ใช้เลขคู่ (ใส่ถาด 2 ถาด ถาดละ 2 ห่อ)
สิ่งที่ฝ่ายชายต้องเตรียม :
- ขนมซีเซ็กทึ้ง หรือจันอับ หรืออาจจะเพิ่มขนมเปี๊ยะ โหลยเปี๊ยะได้หมด เป็นเลขคู่
- ส้มเช้งติดซังฮี้ 2 ถาด (ถาดละ 24 ผล)
- ซองรับขวัญให้พ่อแม่เจ้าสาว
*** ธรรมเนียมวันขันหมาก จะมีการแลกกันค่ะ
ฝ่ายหญิง จะต้องให้ขนมจันอับ 2 ถาด + ส้มเช้ง 2 ถาด + กล้วยเครือ 1 เครือ ให้ฝ่ายชายทั้งหมด
ฝ่ายชาย จะให้ส้มเช้ง 2 ถาด + ขนมซีเซ็กทึ้ง หรือจันอับ หรืออาจจะเพิ่มขนมเปี๊ยะ โหลยเปี๊ยะทั้งหมด ให้ฝ่ายเจ้าสาว และฝ่ายเจ้าสาวจะต้องคืนมาอย่างละครึ่งนึงที่ฝ่ายชายให้ไป คืนมาที่ฝ่ายชายค่ะ
กล้วย หมายถึง มีลูก มีหลาน
ส้ม หมายถึง ความมั่งคั่ง ร่ำรวย ประสพความสำเร็จทุกประการ
ต้นชุงเฉ้า หมายถึง ต้นรักที่มีความอดทน มั่นคง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ต้นเมียหลวง
น้ำตาลทรายแดง หมายถึง ต้นรักที่ล้อมไว้ด้วยความหวานชื่น สม่ำเสมอ โดยไม่มีวันจางหาย
ชุดเอี๊ยมแต่งงาน ประกอบด้วยเมล็ดพืช 5 ชนิด เหรียญเงินทอง 2 คู่ ปิ่นทอง 2 อัน สำลี 2 คู่ เมล็ดแป้งจีน 2 ห่อ โดยเอี๊ยมแดงต้องมีช่องกระเป๋าตรงกลางปักตัวอักษรจีน ซึ่งแปลว่าอยู่กินกันจนแก่ 100 ปี เวลานำมาเข้าพิธีจะต้องใส่เมล็ดพืช 5 ชนิด (โหงวเจ๊งจี้ หรือ โหงวอิ๊กอี้) อันได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวสาร ถั่วเขียว สาคู ถั่วแดง ซึ่งห่อไว้ในกระดาษแดงลงไปในกระเป๋า เพื่อเอาเคล็ดให้ทั้งคู่มีความเจริญรุ่งเรืองงอกงามและมีลูกหลานสืบสกุล พร้อมใส่เหรียญทองลายมังกร (เหรียญกิมเล้ง) หรือบางบ้านใส่เงินเพิ่มเติมลงไปด้วย เพื่อเอาเคล็ดให้ร่ำรวย มีเงินมีทองตลอดปี จากนั้นเสียบปิ่นทองไว้ที่ปากกระเป๋าเอี๊ยม เพื่ออวยพรให้สมปรารถนา พร้อมกันนี้ให้วางสำลี 2 คู่ ที่สื่อความหมายว่าอยู่ร่วมกันจนแก่เฒ่า เมล็ดแป้งจีน 2 ห่อ ที่สื่อความหมายว่าเงินทองเฟื่องฟูลงไปด้วย
3. วันรับตัวเจ้าสาวเข้าบ้าน
สิ่งที่ฝ่ายชายต้องเตรียม : เฉพาะอั่งเปา ซองกั้นประตูค่ะ
สิ่งที่ฝ่ายหญิงต้องเตรียม :
-ตะเกียง หมายถึง แสงสว่างในชีวิตที่เกิด เป็นลูกผู้ชายคนแรกไว้สืบสกุล
-ตู้เซฟ หมายถึง มีเงิน มีทองใช้ตลอดชาติ พอกพูนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
-พัดจีน หมายถึง พัดสิ่งที่ไม่ดีออกไป
-ชุดแม่ศรีเรือน จะประกอบด้วย ตะกร้า กรรไกร ด้าย เข็ม หวี ไม้บรรทัด
-ชุดน้ำชา หมายถึง ยกน้ำชา เพื่อแสดงความเคารพญาติผู้ใหญเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้เป็น การแนะนำญาติทั้ง 2 ฝ่ายให้คู่บ่าวสาวได้รู้จัก
-กะละมัง หมายถึง ให้คลอดลูกง่ายๆ
-กระโถน กระป๋อง แสดงถึงหน้าที่ลูกสะใภ้ เผื่อแสดงให้เห็นถึงความกตัญญู
-รองเท้าเกี๊ยะ หมายถึง มีกินมีใช้ตลอด
-ชุดเครื่องนอนใหม่
**ชุดเครื่องนอนใหม่ ต้องดูฤกษ์จากหมอดูค่ะ หมอดูจะมีวันปูเตียงมาให้ ชุดเครื่องนอนใหม่ฝ่ายหญิงจะเป็นคนซื้อ แล้วจะให้ฝ่ายชายเป็นไปจัดการปูตามวันที่ดูฤกษ์มาค่ะ**
ซึ่งรายละเอียดบางอย่างก็สามารถปรับใช้ให้เหมะสมกับแต่ละคู่ได้เลยค่ะ
ตะเกียง หมายถึง แสงสว่างในชีวิตที่เกิด การถือตะเกียงมักจะให้ เด็กผู้ชาย เป็นคนถือตะเกียง เนื่องจากคนจีนมีความเชื่อว่าเวลามีลูกคนแรกจะได้ลูก เป็นผู้ชายเอาไว้สืบสกุล ดังนั้นตะเกียงจะต้องไม่มีการตกแต่งด้วยโบว์หรือริ้นบิ้นเป็นอันขาดบนตะเกียง แต่จะถูกตกแต่งด้วยตัวหนังสือซังฮี้ เพื่อความเป็นสิริมงคล และที่สำคัญตะเกียงมักใช้สีแดง ตะเกียงจะ เปิดที่หน้าบ้านเจ้าบ่าว(ก่อนเข้าบ้าน) แต่ต้องจุดไว้ 3 วัน และจะปิดก็ต่อเมื่อกลับบ้านเจ้าสาวแล้ว
ตู้เซฟ หมายถึง มีเงิน มีทองใช้ตลอดชาติ พอกพูนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ผ้าห่อสินสอด จะใช้ในพิธีนับสินสอด โดยเถ้าแก่ฝ่ายชายเปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนออกและขอให้พ่อเเม่ฝ่ายหญิงเปิดตรวจนับว่าถูกต้องหรือไม่ เเละพ่อแม่ฝ่ายหญิงทำท่านับสินสอดพอเป็นพิธี และหยิบของทั้งหมดมาวางบนผ้าห่อสินสอด
ผ้ารองพาน ลายมังกรหงส์ ใช้สำหรับวางบนพานสินสอด ก่อนที่วางจะเงินสด หรือเครื่องประดับด้านบน ปกติใช้อย่างน้อย 2 ผืน สำหรับพานเงิน (พานเงินสด) และพานทอง (พานเครื่องประดับ)
ประเพณีการแต่งงานจีน
สิ่งแรกที่บอกได้ถึงพิธีการแต่งงานของชาวจีนก็คือสีแดง สำหรับชาวจีนแล้วสีแดง หมายถึงความผาสุกและความมั่งคั่ง ปัจจุบันเจ้าสาวจีนจะเลือกชุดแต่งงานสีขาวตามสไตล์ตะวันตก แต่สำหรับสมัยก่อนแล้วสีแดงจะปรากฏให้เห็นทุกที่ในงานแต่งงานตั้งแต่เสื้อผ้าของตกแต่ง แม้กระทั่งของขวัญพิธีแต่งงานของชาวจีนแต่ โบราณมักจะถูกจัดโดยผู้เป็นพ่อแม่จะเป็นฝ่าย เลือกเจ้าสาวให้กับบุตรของตน นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติตามเป็นลำดับ ตั้งแต่ การเจรจาต่อรอง การสู่ขอ การว่าจ้างซินแส มาตรวจดูดวงของคู่บ่าวสาวว่าสมพงษ์กันหรือไม่จนไปถึง การตกแต่งเรือนหอ เพื่อความเป็นศิริมงคลจะมีการ จัดหาชายหนุ่มและหญิงสาวมาทำการเตรียมเตียงให้กับเจ้าสาวสองคนนี้อาจเป็นคนเดียวกันกับคนที่จะทำ พิธีหวีผมให้แก่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวตามความเชื่อที่ว่า จะทำให้ทั้งสองรักใคร่ปรองดองกัน มีความร่ำรวย และลูกดก ๆ
พิธีหมั้น
ในวันหมั้นเจ้าบ่าวจะยกขันหมากมาทำพิธีสู่ขอที่บ้านฝ่ายหญิง โดยในวันนี้ทั้งสองฝ่ายต้องเตรียมเครื่องขันหมากตามที่ตกลงกันไว้ ขันหมากตามประเพณีจีนมีชุดเดียวและไม่ได้มีหมากพลเป็นส่วนประกอบแต่อย่างใดเพียงแต่เรียกชื่อตามขันหมากของไทยเท่านั้น เครื่องขันหมากตามประเพณีจีนจะจัดเป็นจำนวนคู่ทุกอย่างและติดตัวหนังสือ “ซังฮี้” สีแดง
พิธีส่งตัว
ก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว ไหว้เทพยดาฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษแล้วมารับประทานอาหารมงคล 10 อย่างที่พ่อคีบให้ โดยผู้ใหญ่ต้องเอ่ยชื่ออาหารแต่ละอย่างด้วยเพื่อความเป็นสิริมงคลเมื่อเจ้าบ่าวมาถึงฝ่ายเจ้าสาวต้อนรับด้วยน้ำชาจนใกล้ฤกษ์ส่งตัวเจ้าบ่าวจะต้องฝ่าประตูเงินประตูทองเข้าไปมอบช่อดอกไม้ ให้เจ้าสาวซึ่งนั่งถือพัดแดงคอยอยู่
ก่อนออกจากบ้านเจ้าสาวคู่บ่าวสาวจะรับประทานขนมบัวลอยจีน หรือขนมอี๊สีชมพูร่วมกันเป็นเคล็ดว่าให้ชีวิตแต่งงานราบรื่น แต่บางบ้านอาจจะให้ทั้งคู่กินอาหารมงคลสิบอย่างด้วยกันแทนก็ได้ ในขบวนส่งตัวจะให้น้องชายหรือหลานชายของเจ้าสาวถือตะเกียงจุดไฟ สว่างนำหน้ารถคู่บ่าวสาวหรืออาจให้นั่งรถคันเดียวกันเอาเคล็ดว่าให้คู่สมรสมีลูกชายไว้สืบสกุล ตะเกียงนี้คู่บ่าวสาวจะนำไปติดตั้งไว้ในห้องหอและจุดไว้ตลอดคืน ห้ามดับเป็นอันขาดเมื่อถึงบ้านฝ่ายชายแล้วมักให้เจ้าสาวลอดใต้แขนเจ้าบ่าวเข้าบ้าน เพื่อเป็นเคล็ดให้เจ้าสาวอยู่ในโอวาท
จากนั้นคู่บ่าวสาวจะทำพิธีไหว้ฟ้าดินไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษด้วยกันก่อนจะทำพิธียกน้ำชาให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายโดยเจ้าสาวจะมีผ้าไหว้ซึ่งนิยมเป็นผ้าตัดเสื้อหรือผ้าเช็ดตัวติดตัวไป สำหรับการณ์นี้ด้วยหลังจากเสร็จพิธียกน้ำชา คู่บ่าวสาวจะรับประทานขนมอี๊สีชมพูด้วยกันอีกครั้ง
ความคิดเห็น